สาระความรู้
|
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2009 เวลา 12:31 น. |
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักออกแบบจากสถาบันเบาว์เฮ้าส์หลายคนลี้ภัยจากประเทศเยอรมันนีไปยังประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ได้นำหลักการออกแบบตัวอักษรและงานพิมพ์แพร่เข้าไปในโลกแห่งวัฒนธรรมใหม่ จนกลายเป็นสวิสสไตล์(Swiss Style) มีการออกแบบสร้างสรรค์และจัดตัวพิมพ์ที่มีรูปแบบสากล (The International Typographic Style)
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธุรกิจระหว่างประเทศแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้นเป็นเงาตามตัว มีการใช้งานออกแบบและสื่อสิ่งพิมพ์มาสนับสนุนและส่งเสริมการค้าขายมากขึ้น
เพื่อ ไม่ให้เกิดความหลากหลายผิดรูปแบบมากเกินไป นักออกแบบชาวสวิสจึงสร้างระบบตาราง(Grid System) ขึ้นมาใช้เป็นตัวกำกับการออกแบบสิ่งพิมพ์ ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิต แบ่งพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็นส่วนๆ โดยมีระบบตารางเป็นตัวกำกับ
- ระบบตารางที่มีรูปแบบสากลนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งหน้ากระดาษให้เป็น สัดส่วน มีพื้นที่ในการวางภาพประกอบและตัวพิมพ์มากขึ้น มีการจัดตัวพิมพ์แบบชิดซ้าย/ปล่อยขวา ใช้ตัวพิมพืแบบไม่มี Serif ทำให้ได้แบบของสิ่งพิมพ์ที่ดูแล้วมีความผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัวอีกทั้งยัง ทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างงาน International Typographic Style
http://rada1527.blogspot.com/2008/11/international-typographic-style.html http://www.flickr.com/photos/20745656@N00/show/with/239929265/
http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621429178991/show/with/3726041811/ http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621429453547/show/with/3726047169/ http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621429527793/show/with/3726043197/ http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621429551669/show/with/3726042649/ http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621554395946/show/with/3726848198/ http://www.flickr.com/photos/65157541@N00/sets/72157621554395946/show/with/3726848198
บทความโดย noontoon (2) มนูญ ไชยสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 28 July 2009
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2009 เวลา 15:16 น. |