The Border Crossing Art Project
ภัณฑารักษ์: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson)
ภัณฑารักษ์ร่วมในประเทศไทย: ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ
ศิลปิน: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson), ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ และ Helen Stacey
ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2553
พิธีเปิดนิทรรศการ วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 18.00-20.00 น.
ข้อมูลโครงการโดยสังเขป
โครงการศิลปะ Border Crossing เป็นการศึกษา ทดลองทางศิลปะเพื่อค้นหาแนวทางการทำงานร่วมกันของศิลปิน โดยที่แต่ละคนได้ทดลองทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการคิดและการสร้างสรรค์ ที่มีการทับซ้อนกันหลายชั้นบนผลงานที่พิมพ์ซ้ำจากผลงานของศิลปิน คนอื่นภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นการก้าวข้ามเขตแดนทางด้านภูมิศาสตร์และ วัฒนธรรม ภายใต้แนวทางการทำงานเดียวกันนี้ ศิลปินสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวเนื่องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือ การถวิลหาทัศนีภาพของชนบทที่สูญหายไป โดยแต่ละคนก็อ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมที่ตนเองอาศัยอยู่ โครงการนี้มีผลสรุปรวบยอดเป็นนิทรรศการและการอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่จะจัดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นิทรรศการปฐมฤกษ์จะจัดขึ้นที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุปแนวคิดและวิธีการทำ งาน
• การทำงานศิลปะร่วมกัน เชิงทดลองระหว่างศิลปินที่มาจากบริบททางวัฒนธรรมที่ต่างกัน
• การใช้วิธีการทำซ้ำ ทางศิลปะเป็นเครื่องมือของการทำงานร่วมกัน
• ประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสมัยในการสื่อสารที่ก้าว ข้ามช่องว่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
• การประสานงานทางความ คิดเกี่ยวกับหัวข้องานโดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมของศิลปินแต่ละคน เป็นกรอบ
• ความคิดเรื่องความ เป็นต้นแบบ (Originality) การครอบครองกรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ และลักษณะของแท้ (Authenticity)
• การหาทางออกให้กับ ความขัดแย้งระหว่างอิสรภาพในการสร้างสรรค์ของศิลปินและการเคารพผล งานศิลปินคนอื่น
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์
เป้าหมายของ The Border Crossing Art Project คือการทำงานทดลองระหว่างศิลปินซึ่งต่างคนต่างก็มาจากบริบท ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้เทคโนโลยีด้านดิจิตอลและการสื่อสารในปัจจุบันเพื่อขยายขอบ เขตความเป็นไปได้ในเรื่องการทำงานเชิงสร้างสรรค์ จนนำมาซึ่งนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นใน หลาย ๆ ประเทศ
ส่วนสำคัญของขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่ศิลปินสื่อสารข้ามความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และ วัฒนธรรม Border Crossing ตั้งคำถามว่า ประเด็นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูล การทำภาพซ้ำ การครอบครองกรรมสิทธิ์ และกฎหมายลิขสิทธิ์ ถูกกำหนดขึ้นและนำไปปฏิบัติอย่างไร การนำงานศิลปะที่ทำถูกซ้ำขึ้นมาใช้ เป็นการท้าทายความคิดเรื่องความ เป็นของแท้และความเป็นต้นแบบของงานศิลปะ โดยตั้งคำถามว่าใครที่เป็นเจ้าของ ที่แท้จริงและจะได้รับค่าตอบแทนจากผลงานที่สร้างขึ้นโดยศิลปิน หลายคนที่ทำงานร่วมกัน ใช่ศิลปินคนแรกที่ลงมือผลิตงานหรือไม่ หรือจะเป็นศิลปินที่จ่ายค่าทำงานซ้ำ หรือคนที่ทำงานเป็นคนสุดท้าย
ต่างกับความสัมพันธ์ฉัน อาจารย์และลูกศิษย์ ศิลปินทั้งสามคนได้รับความสำคัญเท่าเทียมกัน ในการสร้างงาน แม้ว่าศิลปินที่ทำงานเป็นคนสุดท้ายจะมีความรับผิดชอบและ อิสรภาพในการทำให้งานสำเร็จออกมาทางใดทางหนึ่งมากที่สุด สิ่งสำคัญในขั้นตอนคือความเคารพและตระหนักถึงสไตล์การเขียนภาพที่ แตกต่างของศิลปินคนอื่นและความจำเป็นในการปรับตัวให้เข้ากับงาน ศิลปินแต่ละคนมีอภิสิทธิ์ที่จะเลือกว่าองค์ประกอบใดของงานที่ตนจะ เก็บไว้ และส่วนใดที่จะลบทิ้งหรือปรับเปลี่ยน หรือแม้แต่จะวาดภาพทับงานทั้งชิ้นเลยก็เป็นได้ ขั้นตอนนี้ท้าทายแนวคิดของ Modernism ที่อ้างว่าศิลปินเป็น “ฮีโร่ หรือ อัจฉริยะ” โดยที่ศิลปินไม่ได้เป็นผู้สร้างหรือเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว ยิ่งกว่านั้น ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีร่วมสมัยในการทำงานศิลปะซ้ำ ผลงานได้ถูกผลิตเพิ่มและสร้างสรรค์ต่อเติมโดยศิลปินคนต่อไป โดยยังสามารถตรวจสอบวิวัฒนาการของงานได้ คล้าย ๆ กับเป็นแผนภูมิลำดับญาติ
นอกเหนือจากแนวคิดที่เกี่ยว เนื่องกับขั้นตอนการสร้างงาน ศิลปินยังสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือการหวนคำถึงถึงทัศนียภาพ ชนบทที่หายไป โดยอ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของศิลปิน
ผลลัพท์ที่ตั้งใจไว้ของนิทรรศ การและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคือการนำเสนอผลงานที่ให้ผู้ชมเข้า มามีส่วนร่วมในบทสนทนาที่กินพื้นที่หลายประเทศ กระตุ้นการถกเถียงเรื่องความคิดและประเด็นต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในผลงาน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศิลปินที่มาจากพื้นฐาน ทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยผู้ชมสามารถแสดงความเห็นผ่าน http://thebordercrossingartproject.blogspot.com และใน Facebook เพื่อให้มีการโต้ตอบได้โดยตรงและร่วมพูดคุยอย่างต่อเนื่อง
แนวคิดและประวัติของศิลปิน โดยย่อ
Wendy Grace Allen (นาม สกุลเกิด Dawson)
เกิดที่ Palmerston North ประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันใช้ชีวิตและทำงานที่นิวซีแลนด์และที่จังหวัด ปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย
ใน The Border Crossing Art Project นี้ Wendy พูดถึงเรื่องการล่าอาณานิคม และการเป็นเจ้าของที่ดินในบริบทของประเทศนิวซีแลนด์ โดยพูดถึงความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นของเธอที่มีต่อบ้านเกิด การโต้ตอบของ Wendy ต่อเรื่อง “ดินแดนและสถานที่” เกิดจากประสบการณ์การใช้ชีวิตในภูมิประเทศที่สวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ และคงความเป็นธรรมชาติของนิวซีแลนด์ และทัศนคติของชาวคริสต์ที่มีต่อพระ เจ้าในฐานะผู้สร้างและความรับผิดชอบของมนุษย์ในฐานะผู้รักษาสิ่ง ที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา
Wendy ได้พบกับนักเรียนปริญญาโทด้านทัศนศิลป์ร่วมชั้นในตอนนั้น Helen Stacey และ อภิชาติ พลประเสริฐ ที่ University of South Australia หลังจากเรียนจบ Wendy ได้อาศัยอยู่ในหลาย ๆ แห่งในประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย สิงคโปร์ และประเทศไทย เธอเพิ่งเสร็จจากการเข้าร่วมโครงการศิลปินใน พำนักที่ศูนย์ศิลป์ชนบทบ้านเป้า ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยที่ อภิชาติ พลประเสริฐ เป็นผู้จัดตั้งขึ้น และตอนนี้อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์และที่ปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย
อภิชาติ พลประเสริฐ
เกิดที่จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันเป็นศิลปินและอาจารย์ ที่สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ใน Border Crossing ผลงานของอภิชาติ เป็นการผสมผสานความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชนบทและวัฒนธรรมเมือง ประสบการณ์ที่ขัดแย้งกันจากการที่เกิดในครอบครัวเกษตรกรรมที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การย้ายมาอยู่กรุงเทพ และจากนั้นก็ย้ายไปที่ Adelaide ประเทศออสเตรเลีย และที่ Newcastle ประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะเรียนต่อนั้น ทำให้เขาพัฒนาปรัชญาการทำงานศิลปะ ปรัชญาที่ว่านี้มีขึ้นและตอบ สนองต่อความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างสองสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน (Binary) เช่น ความเป็นชนบทกับความเป็นเมือง เทคโนโลยีขั้นต่ำกับเทคโนโลยีขั้นสูง และความเป็นพื้นถิ่นกับความเป็นสากลส
Helen Stacey
เกิดที่ Strathalbyn ทางใต้ของออสเตรเลีย เป็นอาจารย์สอนศิลปะระดับมัธยมศึกษาและผู้ประสานงานระหว่างปี 2527-2530 Master of Visual Arts 2540, Master of Visual Arts (Research) 2547 และเป็นศิลปินมา 22 ปี
ในความร่วมมือกันทำงานนิทรรศ การครั้งนี้ Helen Stacey ทำงานเกี่ยวกับหัวข้อที่เธอใช้ในงานศิลปะมาตลอด ซึ่งก็คือ “ดินแดน” ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่ถูกเข้ายึด ครอง แต่ก็ยังเป็นสถานที่ที่สวยงาม เต็มไปด้วยการเปรียบเปรยทางด้านจิต วิญญาณ และเป็นฉากสำหรับการมีส่วนร่วมต่างวัฒนธรรม ในการทำงานเธอพยายามที่จะพัฒนาความร่วมมือทางด้านทัศนศิลป์ใน ระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างศิลปินและคนทั่วไปที่เป็นคนอะบอริ จินและที่ไม่ใช่คนอะบอริจิน และในบริบทที่ใหญ่กว่านั้น เธอก็ตระหนักว่าศิลปะเป็นหนทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ไม่เป็นไป ในลักษณะคุกคาม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
สิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน (เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์)
โทร. 081-629-0457 อีเมล์: siriwatpokrajen@yahoo.com, info.artcenterchula@gmail.com
หอศิลปวิทยนิทรรศน์
ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907
อีเมล์: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
The Art Center
7th Fl, Center of Academic Resources, Chulalongkorn University, Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
News Release
21 January 2010
The Border Crossing Art Project
Project Curator: Wendy Grace Allen (nee Dawson)
Collaborating Artists: Wendy Grace Allen (nee Dawson), Dr Apichart Pholprasert and Helen Stacey
At The Art Center, Center of Academic Resources, Chulalongkorn University
February 5 – March 6, 2010
Opening Reception: Friday February 5, 2010, 6-8pm
Brief Description of the Project
The Border Crossing Art Project is an exploration of collaborative art practice, where the artists involved in the project experiment by using multi-layered collaborative processes that traverse geographical and cultural boundaries. Within this framework, the artists reflect on current issues relating to land ownership, and/or the nostalgia for a lost rural idyll, relating to their specific cultural context. The project culminates in a series of exhibitions and workshops to be held in several countries within the Asia Pacific region. The inaugural exhibition and workshop is to be held at The Art Centre, Chulalongkorn University in Bangkok, Thailand.
Summary of the Concepts and Methodologies Explored in Border Crossing
• An experimental collaborative art practice between artists from different cultural contexts.
• The implementation of fine art reproduction as a collaborative tool.
• The issues arising from the use of contemporary information technology to communicate across geographical and cultural divides.
• The negotiation of the project's themes within each artist's cultural landscape.
• Challenging notions of originality, ownership, copyright and authenticity.
• The resolution of the conflict between individual artists freedom of creative expression and respect for another artist's work.
Aims/Objectives
The aim of The Border Crossing Art Project is to conduct an experiment between artists who originate from different cultural contexts within the Asia Pacific region, utilising contemporary digital and communication technology to expand the possibilities of creative practice, culminating in a series of exhibitions and workshops in several countries. Fundamental to the process is the way the artists communicate across geographical and cultural divides. Border Crossing questions how issues of dissemination of information, image reproduction, ownership and copyright law are resolved and acted upon. The use of fine art reproductions challenges the authenticity and originality of the artwork. Who owns and therefore receives any monetary reward for an artwork that several people have worked on? Is it the artist who creates the first painting, the artist who paid for the fine art reproduction, or the person who finishes the artwork? Unlike the master apprentice relationship, all three artists are acknowledged equally in contributing to the artwork, although the artist who finishes the painting has the main responsibility and freedom to resolve the completed artwork. Inherent in the process is an element of respect and acknowledgement of another's differing painting style and the necessity of adapting accordingly. It is the prerogative of each artist to select which elements of an artwork to retain and which parts to erase or adapt, with the option to completely paint over the other's work. The process challenges Modernist notions of the artist as “hero or genius”, where alternatively the artists defer their rights to sole authorship and ownership of the work. In addition, the exhibited artworks, enabled by the contemporary technology of fine art reproductions on canvas, create a phylogeny of paintings where the evolution of the completed work can be traced, resembling a family tree.
In addition to the concepts addressed by the process of creating the works, the artists reflect on current issues relating to land ownership, and/or the nostalgia for a lost rural idyll, relating to their specific cultural context.
The intended outcome of the exhibition and workshops is to deliver artwork that engages viewers in a multi-country dialogue, stimulating discussion about the concepts/issues presented, whilst promoting collaborations between artists from different cultural backgrounds. There will be a forum via http://thebordercrossingartproject.blogspot.com and Facebook social networking page available for viewers to respond directly to the works thereby continuing the conversation.
Artists' Statements and Brief Biographies
Wendy Grace Allen (nee Dawson)
Born in Palmerston North, New Zealand. Currently lives and works in New Zealand and Penang, Malaysia.
In The Border Crossing Art Project Wendy addresses colonisation/land ownership concerns within the New Zealand cultural context, referencing her enduring connection to her homeland, her Turanga wai wai. Wendy's response to land/place is formed by her experience of living in the beautiful, dramatic, wild, confronting landscape of New Zealand and her Christian world view of God as creator and our responsibility as caretakers of His creation.
Wendy met fellow Master of Visual Arts students, Helen Stacey and Apichart Pholprasert at the University of South Australia. Since completing her studies Wendy has lived in several places around New Zealand and in Australia, Singapore and Thailand. She recently completed an Artist-in-Residence programme at Ban Pao Rural Art Centre, North-East Thailand (which Apichart Pholpraset has set up) and currently lives and works in New Zealand and Pulau Penang, Malaysia.
Apichart Pholprasert
Born in Chaiyaphum Province, Thailand. Lives in Bangkok, Thailand.
A Bangkok based lecturer-artist, Apichart Pholprasert negotiates rural/urban cultural differences in his art practice. The contrasting experience between his childhood in a farming family in North-East Thailand, and his relocation(s) to Bangkok, then Adelaide, Australia and Newcastle, UK, to further his education led him to develop his art making philosophy. This philosophy builds around and responds to the interconnection between the multiple binaries of rural/urban, low-tech/hightech, and local/international.
Helen Stacey
Born in Strathalbyn, South Australia. Secondary art teacher and co-ordinator, 1983-1987. MVA 1997, MVA (Research ) 2004, artist for 22 years.
Through this collaborative exhibition Helen Stacey engages with themes underlying her practice – land as a colonised site yet also a sublime place, rich in spiritual metaphor and a setting for cross-cultural engagement. Through her art practice she seeks to develop visual art partnerships at a community level – in particular between Aboriginal and non-Aboriginal artists and individuals – as well as in the wider region, recognising that the arts provide a non-threatening way to build relationships.
For more information, please contact:
Siriwat Pokrajen (PR Officer)
Tel: 081-629-0457, email: siriwatpokrajen@yahoo.com, info.artcenterchula@gmail.com
The Art Center
7th Fl, Center of Academic Resources, Chulalongkorn University
Phyathai Rd, Pathumwan, Bangkok 10330
Tel: 0-2218-2965, Fax: 0-2218-2907
Email: info.artcenterchula@gmail.com
www.car.chula.ac.th/art
Monday-Friday 9am-7pm, Saturday 9am-4pm
Closed on Sunday & Public Holidays |